วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

 


ประกาศอย่างเป็นทางการ จากกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ

1. ตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ดำเนินการออกแบบ
2. กรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีอักษรย่อคือ สกร.
3. ชื่อภาษาอังกฤษ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ Department of Learning Encouragement อักษรย่อภาษาอังกฤษ DOLE
4. อักษรย่อของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร คือ • สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด(ชื่อจังหวัด) ย่อเป็น สกร.จังหวัด (ชื่อจังหวัด) หรือ สกร.จ. (ชื่อจังหวัด) ชื่อภาษาอังกฤษของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร (ชื่อจังหวัดภาษาอังกฤษ) Provincial Office of Learning Encouragement
• สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร ย่อเป็น สกร.กรุงเทพมหานคร หรือ สกร.กทม. Bangkok Office of Learning Encouragement
5. อักษรย่อและชื่อภาษาอังกฤษของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ/เขต คือ• ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ ย่อเป็น ศสกร.อำเภอ(ชื่ออำเภอ) หรือ ศสกร.ข. (ชื่อเขต) (ชื่ออำเภอ/เขตภาษาอังกฤษ) District Learning Encouragement Center
6. สีประจำกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ สีเหลือง และสีม่วง
7. การแต่งกายให้สวมชุดสูท หรือซาฟารี ใช้ผ้าสีกรมท่า สำหรับชุดปฏิบัติการในพื้นที่ ขอให้สวมเสื้อสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมการเรียนรู้
8. วันสถาปนากรมส่งเสริมการเรียนรู้ กำหนดเป็นวันที่18 มีนาคม พ.ศ.2566

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติขนมกง

ขนมกงเป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา "ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี" ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก นอกจากขนมกงวงเล็ก ที่ทำกินกันตามปกติแล้วยังมีขนมกงขนาดใหญ่ ที่ทำขึ้น ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่ง นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้ว บางที่จะประดิษฐ์โดยการเอาตอกมาเสียบสี่มุมของตัวกง รวบปลายตอกแล้วมัดยอดด้วยตอกให้เหมือนทรงกระโจม นำแป้งที่ใช้ชุบตัวกงมาสลัดในกระทะให้เป็นแพฝอย ๆ


นำแพแป้งที่ลักษณะเหมือนแหนี้มาคลุมตัวกระโจมดังกล่าว เพิ่มความสวยงามไปอีกแบบ จากนั้นก็จะนำใส่สาแหรกหาบไปในพิธีแห่ขันหมากขนมกงขาดไม่ได้ในงานหมั้นงานแต่ง จนคนไทยสมัยก่อน ถึงกับ มีสำนวนพูดสัพยอกว่า "เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที" ซึ่งหมายความว่าเมื่อไรจะแต่งงานนั้นเอง ขนมกงเป็นขนมมงคล ด้วยเชื่อว่าจะทำให้คู่บ่าวสาวมีใจคอหนักแน่นและครองรักกันตลอดไปเหมือนกงล้อของเกวียนที่หมุนไปเรื่อย ๆ สมัยก่อน ในงานหมั้นงานแต่งจะใช้ขนมกงควบคู่กับขนมสามเกลอ แต่ปัจจุบันขนมสามเกลอเสื่อมความนิยมไปมากแล้ว คงเหลือแต่ขนมกงที่คนไทยภาคกลางยังนิยมใช้เป็นขนมแต่งงานกันแพร่หลาย ดังนั้นแถวอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี จึงมีแม่ค้าทำขนมกงขายตามสั่ง ซึ่งจะมีมากในเดือนที่นิยมพิธีแต่งงาน อย่างไรก็ตามทุกวันนี้จะหาศิลปินนักทำขนมกงอร่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ